Good Imitation Leads to Great Innovation : เลียนแบบจนได้ดี

Good Imitation leads to Great Innovation

ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

“ศิลปะคือการขโมย – ART IS THEFT”  Pablo Ruiz Picasso (จิตรกรเอกของโลก)
“การเลียนแบบคือมารดาของความคิดสร้างสรรค์” — Kobayashi Hideo (นักวิจารณ์วรรณคดีชื่อดัง)

เพราะโลกนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่ และไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ ทุกสิ่งล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างผลงานชิ้นใหม่ หรือสินค้า/บริการที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ต่างก็เริ่มต้นมาจากการเลียนแบบ (Imitation) ความคิดที่มีอยู่เดิมทั้งสิ้น ซึ่งต้องทำผ่านวิธีการที่แนบเนียน แยบยล และยังต้องสร้างสรรค์อีกด้วย เพราะ “การลอกความคิด” กับ “ความคิดสร้างสรรค์” นั้น ต่างกันเพียงแค่ “เส้นแบ่ง” บาง ๆ

ถ้าจะยกตัวอย่างธุรกิจร้านกาแฟ 2 แห่งในประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า เลียนแบบจนได้ดี และประสบความสำเร็จทั่วโลก ทุกคนก็คงจะนึกถึง Starbucks กับ Doutor ที่ต่างก็ใช้ร้านกาแฟในยุโรปเป็น “ตัวอย่าง” ในการ “เลียนแบบ” ด้วยกันทั้งคู่ เพราะผู้ก่อตั้งของทั้งสองร้านต่างเคยได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีจากร้านกาแฟในยุโรป จึงได้นำเอาแรงบันดาลใจนี้กลับไปสร้างเป็นร้านกาแฟในประเทศของตน จะมีข้อแตกต่างเล็กน้อยก็ตรงที่ Starbucks เลียนแบบร้านกาแฟในอิตาลี ส่วน Doutor เลียนแบบร้านกาแฟในฝรั่งเศสผสมกับร้านกาแฟในเยอรมัน แต่ทั้งสองก็ล้วนเลียนแบบร้านกาแฟที่มีความเป็นมายาวนาน ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวยุโรปที่หยั่งรากอย่างลึกซึ้ง

Editorial stock image by Takamex / Shutterstock.com

และถึงแม้ต้นแบบของร้านทั้งสองจะมาจากร้านกาแฟในยุโรปเหมือนกัน แต่คอนเซ็ปต์ของร้านที่ตกผลึกออกมากลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะประเด็นสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จก็คือ การมองส่วนที่เป็นแก่นหลักให้ออก

หลังจากที่ Mr.Howard Schultz ผู้ก่อตั้งร้าน Starbucks ได้เวียนสังเกตการณ์ Espresso Bar หลายแห่งในอิตาลี ซึ่งแต่ละแห่งต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่แพ้กัน สุดท้าย Schultz ก็มองออกว่า

“การมีบาริสต้าฝีมือดี กับความรู้สึกผูกพันและเป็นกันเองระหว่างลูกค้าด้วยกันคือสิ่งที่สำคัญที่สุด”

เพราะสำหรับชาวอิตาเลียนแล้ว เทคนิคการชงกาแฟอันยอดเยี่ยมของบาริสต้า และบรรยากาศการพูดคุยอย่างสนุกสนานเป็นกันเองภายในร้านถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

ส่วน Mr.Toriba Hiromichi ผู้ก่อตั้งร้าน Doutor เองก็มีมุมมองที่คล้ายคลึงกัน เพียงแค่ช่วงเวลาในการดูงานสั้น ๆ ก็สามารถมองออกว่า

ร้านกาแฟรสชาติดี ราคาประหยัด สไตล์ยืนดื่ม ที่อยู่บนถนน Champs-Élysées แบบนี้นี่แหละ ที่จะเป็นรูปแบบของร้านกาแฟ”

Doutor จึงเกิดจากประกายความคิดสไตล์ยืนดื่มของร้านกาแฟในฝรั่งเศส และการขายเมล็ดกาแฟคั่วภายในร้าน Tchibo ของเยอรมนี นำมาผสมผสานกันแล้วสร้างเป็นธุรกิจใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา การบริโภคเครื่องดื่มกาแฟราคาประหยัดในระดับที่สามารถดื่มได้ทุกวันโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายมากนักจึงส่งผลบวกต่อกิจการของ Doutor อย่างมาก

กรณีของ Starbucks แม้จะนำเอาสไตล์ Espresso Bar ของอิตาลีมาเป็นโมเดลต้นแบบ แต่สิ่งที่ออกมากลับเป็นร้านกาแฟที่ทำให้ผู้คนรู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันเอง ส่วนกรณีของ Doutor แม้จะได้ร้านกาแฟตำรับดั้งเดิมในฝรั่งเศสมาเป็นต้นแบบ แต่สิ่งที่ออกมากลับเป็นร้านกาแฟสไตล์ยืนดื่มที่มีรอบหมุนเวียนของลูกค้าสูง

จะเห็นได้ว่า ทั้ง Starbucks และ Doutor ต่างเลือกเลียนแบบเฉพาะส่วนที่เป็นแก่นหลักจากโลกที่อยู่ห่างไกลออกไป แล้วนำมาปรับแต่งให้สอดคล้องกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และสภาพความเป็นอยู่ของประเทศตนเอง จนทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวขึ้นมา

ซึ่งในความเป็นจริง การสร้างกลไกธุรกิจตามภาพร่างที่วาดไว้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะไม่ใช่ว่าจะสามารถเลือกองค์ประกอบที่เหมาะสมขึ้นมาได้ทั้งหมดตั้งแต่แรกได้อย่างถูกต้องเสมอไป ระหว่างทางจึงต้องเรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและความล้มเหลว ต้องลองผิดลองถูกหลายต่อหลายครั้ง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกระบวนการทำงานที่หนักหน่วงและต้องใช้ความอดทนสูง แต่ถ้ามองในทางตรงกันข้าม ภาระงานที่ต้องอาศัยความอดทนอย่างมากนี้เอง ที่เป็นเสมือนกุญแจไปสู่ความสำเร็จของร้านกาแฟทั้งสอง เพราะถ้าไม่อดทนต่อความยากลำบาก นวัตกรรมจากการเลียนแบบก็จะไม่เกิดขึ้น

นอกจากนั้น คุณ Toriba ยังได้กล่าวถึงตรรกะของความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากการเลียนแบบไว้ว่า

“ดูแล้วเอาอย่าง ค้นคว้าวิจัย และเลียนแบบอย่างเต็มที่
แล้วระหว่างกระบวนการข้างต้น
ทักษะความสามารถเฉพาะตัวของเราจะเพิ่มสูงขึ้นระดับหนึ่ง
และเมื่อทักษะความสามารถของเราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่ง
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเราก็จะเกิดขึ้นได้เอง”


เนื้อหาส่วนหนึ่งจากเรื่อง “การถอดแบบจำลองของธุรกิจร้านกาแฟ” จากหนังสือ เลียนแบบ แยบยล

Tatsuhiko Inoue / เขียน
ประวัติ เพียรเจริญ / แปล

เลียนแบบ แยบยล

ไอคอน PDPA

โปรดศึกษา นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ของท่าน และตอบแบบความยินยอมก่อนใช้บริการที่ ตั้งค่า
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีของท่านในการใช้เว็บไซต์ ตั้งค่าคุกกี้ได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

→ เลือกตั้งค่าเปิด/ปิดคุกกี้ได้ตามความต้องการที่ข้อ 2. ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
→ โปรดตอบแบบความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้อ 3.-5.
→ กรณีที่ท่านอายุต่ำกว่า 20 ปี โปรดกรอกแบบความยินยอมเพิ่มเติม ที่นี่ ก่อนใช้บริการ
→ ศึกษานโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ที่นี่
→ ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าและความยินยอมได้ตลอดเวลา

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • 1. คุกกี้ที่จำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นคุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้เว็บไซต์ได้เป็นปกติ และเพิ่มประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้  
    ศึกษานโยบายคุกกี้เพิ่มเติม ที่นี่

  • 2. คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของท่าน 
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ และโฆษณาได้ตรงกับความสนใจของท่าน

  • 3. ความยินยอมเพื่อการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น สิทธิพิเศษต่าง ๆ

    ความยินยอมให้สมาคมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร ข้อมูลโปรโมชั่น สิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของเว็บไซต์ TPA Book รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าให้กับฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมเพื่อการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร ข้อมูลโปรโมชั่น และสิทธิพิเศษต่าง ๆ เกี่ยวกับบริการของเว็บไซต์ TPA Book และฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมแก่ท่านได้

  • 4. ความยินยอมเพื่อการปรับปรุงบริการและพัฒนาเว็บไซต์

    ความยินยอมสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประเมินความพึงพอใจของท่านที่มีต่อการใช้บริการต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ TPA Book
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำความคิดเห็นของท่านไประมวลผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาเว็บไซต์ TPA Book และการบริหารจัดการเกี่ยวกับการบริการให้ดียิ่งขึ้นได้

  • 5. ความยินยอมเพื่อการทำการตลาดและส่งเสริมการขาย

    ความยินยอมสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำการตลาดและส่งเสริมการขาย รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ในหมวดหมู่เดียวกันกับสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ TPA Book ซึ่งสมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่าน
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำข้อมูลของท่านไปประมวลผลเพื่อนำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ในหมวดหมู่เดียวกันกับที่มีในเว็บไซต์ TPA Book ซึ่งสมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่านได้

บันทึกการตั้งค่า