ผู้เขียน | ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ และคณะ |
---|---|
จำนวนหน้า | 272 หน้า |
เนื้อในพิมพ์ | ขาวดำ |
ขนาด | 18.5 x 26 ซม. |
น้ำหนัก | 490 กรัม |
ปีพิมพ์ครั้งแรก | 2556 |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. |
การเขียนทางเทคนิค (Technical Writing) ในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
230.00 บาท
การเขียนทางเทคนิค (Technical Writing) เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนิสิต นักศึกษา และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
Out of stock
เนื้อหาหนังสือ
เนื้อหา
การเขียนทางเทคนิค (Technical Writing)
ในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนิสิต นักศึกษา และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การเขียนทางเทคนิคพบในแบบเสนอโครงการ (Project Proposal) โครงงานปริญญานิพนธ์ (Senior Project) วิทยานิพนธ์ (Thesis) โครงการวิจัย รายงานเชิงเทคนิค บทความวิชาการ ฯลฯ
งานเขียนทางเทคนิคแตกต่างจากงานเขียนทั่วไป เนื่องจากงานเขียนทางเทคนิคมีรูปแบบ (Format) เฉพาะตามที่กำหนด มีการใช้ภาษาเขียนที่เป็นทางการ มีความถูกต้อง แม่นยำสูง และผู้อ่านไม่ต้องตีความ
ผู้เขียนจึงต้องเข้าใจกระบวนการเขียนทางเทคนิค ซึ่งประกอบด้วย
ความหมาย และขอบเขตของงานเขียนทางเทคนิค
จริยธรรมในการเขียนงานทางเทคนิค และการโจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism)
การตั้งวัตถุประสงค์ของงานเขียน การวิเคราะห์พื้นความรู้ของผู้อ่าน และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการเขียน
โครงสร้างของงานเขียนทางเทคนิค และกระบวนการในการเขียนตั้งแต่เริ่มต้นจนได้เป็นงานเขียนที่สมบูรณ์
การใช้รูปภาพ ตาราง และกราฟ (Visual Elements) ที่เหมาะสมในงานเขียนทางเทคนิค
การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในงานเขียนทางเทคนิค
หลักการเขียนเอกสารอ้างอิง
รูปแบบงานเขียนทางเทคนิคประเภทต่าง ๆ
เหมาะสำหรับ
นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่ต้องเขียนโครงงานปริญญานิพนธ์ (Senior Project) และวิทยานิพนธ์ (Thesis)
ครู-อาจารย์ ที่ต้องเขียนบทความวิชาการ และนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ
นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ หรือสรุปความก้าวหน้าของโครงการ รวมถึงการเขียนบันทึกเชิงเทคนิค เป็นต้น