7 วิธีหาไอเดียสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่

7 วิธีหาไอเดียสู่การสร้างผลิตภัณฑ์

ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

เมื่อคุณได้รับโจทย์จากทีมงานว่าให้หาไอเดียสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือคิดโครงการใหม่ ๆ แต่คุณไม่เคยทำมาก่อน แล้วจะทำอย่างไรดี แถมวิธีหรือแหล่งค้นหาไอเดียเพื่อนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นมีหลากหลาย แล้วควรเริ่มต้นจากตรงไหน

วันนี้ เราขอมาแนะนำ 7 วิธีแสวงหาไอเดียใหม่ ๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ปัง ดังนี้

1 มองหาสัญญาณความนิยมใหม่ ๆ

คุณควรมองหากระแสความนิยมที่นำหน้าตลาดสักครึ่งก้าวจากกลุ่มลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณ ให้สังเกตพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าที่ไวต่อกระแส ดูว่าพวกเขาทำอะไร ที่ไหน และคิดหาเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอดเวลา

กรณีที่เคยมีกระแสความนิยมเดิมที่ขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้ว ให้พยายามสังเกตจุดเปลี่ยนที่แตกต่างจากกระแสที่เคยเป็นมา เพราะสิ่งที่ตรงกันข้ามจากเดิมนั้นมักจะกลายเป็นจุดเริ่มของกระแสความนิยมใหม่

2 จับตาดูแนวโน้มของธุรกิจอื่นที่มีกลุ่มลูกค้าเดียวกับคุณ

นอกจากคุณจะต้องคอยจับตาดูแนวโน้มของธุรกิจตัวเองแล้ว คุณต้องเฝ้ามองธุรกิจอื่น ๆ ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณสนใจด้วย คิดหาเหตุผลว่าทำไมกลุ่มเป้าหมายถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนั้น ๆ แล้วพิจารณาว่าจะนำมาปรับใช้ในธุรกิจของคุณได้หรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้คุณคิดออกนอกกรอบความเคยชินของวงการได้ดีเลยละ

3 จับตาดูคู่แข่ง

คุณไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวการแข่งขัน เพราะที่จริงการเข้ามาแข่งขันในตลาดเดียวกันนั้นเป็นโอกาสดีที่จะขยายตลาด นอกจากนั้นการเฝ้ามองคู่แข่งจะช่วยให้คุณสร้างไอเดียใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

เมื่อคู่แข่งเข้ามาในตลาด คุณควรจะวิเคราะห์ เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งกับของคุณ เพื่อค้นหาจุดแข่งและจุดอ่อน คุณจะพบจุดอ่อนที่ควรปรับปรุง และพบความแตกต่างจากคู่แข่งที่จะเน้นให้เป็นจุดแข็งเพื่อวางตำแหน่งในตลาดต่อไป

4 ประชุมระดมไอเดีย

วิธีนี้อาจฟังดูเป็นวิธีการพื้นฐาน แต่สิ่งสำคัญในการจัดการประชุมให้มีประสิทธิภาพ จะต้องทำดังนี้

คัดเลือกสมาชิกนอกเหนือจากทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ต้องมาจากส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
เลือกคนที่ชอบแสดงความคิดเห็น
ชี้แจงให้สมาชิกทุกคนเข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนเข้าร่วมประชุม

จากนั้นก็ให้ทุกคนเสนอไอเดียได้โดยเสรี และสิ่งที่สำคัญ คุณต้องควบคุมไม่ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไอเดียที่เสนอให้ได้

5 ต่อยอดจากไอเดียของคนอื่น

จริง ๆ แล้ว ผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวนมากเป็นของที่เพียงแค่ต่อยอดหรือเปลี่ยงแปลงมาจากของเดิมเท่านั้น เมื่อคุณรวบรวมไอเดียจากแหล่งต่าง ๆ ได้แล้ว ควรนำมาพลิกแพลงหรือปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อดูว่าจะได้ออกมาเป็นไอเดียที่น่าสนใจหรือไม่

6 ออกนอกกรอบความเคยชินของลูกค้า

บ่อยครั้งที่คุณอาจใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากลูกค้าประจำเพื่อแสวงหาไอเดียสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือลูกค้าประจำมักจะให้ความเห็นโดยยึดติดกับกรอบการใช้งานเดิมเพราะความเคยชิน ถ้าคุณใช้วิธีนี้ คุณควรลองคิดหาไอเดียที่ตรงกันข้ามหรือออกนอกกรอบความเคยชินของลูกค้าด้วย

7 ทบทวนความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

เมื่อคุณได้ไอเดียที่แตกต่างแล้ว อย่าลืมทบทวนว่า “ความแตกต่างนั้นเป็นความแตกต่างที่ลูกค้าเป้าหมายต้องการจริง ๆ หรือไม่” ขอให้คุณพยายามมองจากมุมของลูกค้าและตั้งคำถามว่า ไอเดียแปลกใหม่ที่แตกต่างนั้นเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าจริง ๆ หรือไม่ เพราะลูกค้าคงไม่ยินดีที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างแต่ไม่มีประโยชน์ชัดเจนสำหรับพวกเขา

สุดท้าย เมื่อคุณได้ไอเดียใหม่แล้ว สิ่งที่ควรระวังก็คือ
เมื่อเสนอไอเดียนั้นแล้วได้รับความคิดเห็นที่หลากหลายจากทีมงาน
คุณอาจปรับเปลี่ยนบางอย่างได้
แต่ระวัง! อย่าปรับตามความเห็นของคนอื่น
จนสูญเสียแก่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไอเดียใหม่ของคุณไป

 


แนวทางและเทคนิคต่าง ๆ จากหนังสือ สินค้ายอดนิยม จากเริ่มต้นสู่แบรนด์อมตะ

Masahiro Ohta / เขียน
ประยูร เชี่ยววัฒนา / แปล

สินค้ายอดนิยม จากเริ่มต้นสู่แบรนด์อมตะ

 

โปรดศึกษา นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ของท่าน และตอบแบบความยินยอมก่อนใช้บริการที่ ตั้งค่า
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีของท่านในการใช้เว็บไซต์ ตั้งค่าคุกกี้ได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

→ เลือกตั้งค่าเปิด/ปิดคุกกี้ได้ตามความต้องการที่ข้อ 2. ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
→ โปรดตอบแบบความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้อ 3.-5.
→ กรณีที่ท่านอายุต่ำกว่า 20 ปี โปรดกรอกแบบความยินยอมเพิ่มเติม ที่นี่ ก่อนใช้บริการ
→ ศึกษานโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ที่นี่
→ ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าและความยินยอมได้ตลอดเวลา

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • 1. คุกกี้ที่จำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นคุกกี้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้เว็บไซต์ได้เป็นปกติ และเพิ่มประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้  
    ศึกษานโยบายคุกกี้เพิ่มเติม ที่นี่

  • 2. คุกกี้เพื่อการโฆษณาและการตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของท่าน 
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำเสนอโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ และโฆษณาได้ตรงกับความสนใจของท่าน

  • 3. ความยินยอมเพื่อการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร โปรโมชั่น สิทธิพิเศษต่าง ๆ

    ความยินยอมให้สมาคมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร ข้อมูลโปรโมชั่น สิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของเว็บไซต์ TPA Book รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าให้กับฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมเพื่อการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร ข้อมูลโปรโมชั่น และสิทธิพิเศษต่าง ๆ เกี่ยวกับบริการของเว็บไซต์ TPA Book และฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมแก่ท่านได้

  • 4. ความยินยอมเพื่อการปรับปรุงบริการและพัฒนาเว็บไซต์

    ความยินยอมสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประเมินความพึงพอใจของท่านที่มีต่อการใช้บริการต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ TPA Book
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำความคิดเห็นของท่านไประมวลผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาเว็บไซต์ TPA Book และการบริหารจัดการเกี่ยวกับการบริการให้ดียิ่งขึ้นได้

  • 5. ความยินยอมเพื่อการทำการตลาดและส่งเสริมการขาย

    ความยินยอมสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำการตลาดและส่งเสริมการขาย รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ในหมวดหมู่เดียวกันกับสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ TPA Book ซึ่งสมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่าน
    หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำข้อมูลของท่านไปประมวลผลเพื่อนำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ในหมวดหมู่เดียวกันกับที่มีในเว็บไซต์ TPA Book ซึ่งสมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่านได้

บันทึกการตั้งค่า